หน้าเว็บ

LECTURE

หลักการออกแบบเว็บไซต์เบื้องต้น

                                        

      ในการออกแบบเว็บไซต์เราต้องคำนึงถึงในหลาย ๆ อย่าง เนื่องจากเว็บที่เราทำขึ้นมานั้นจะมีผู้ชมที่หลากหลาย ใช้โปรแกรมในการเปิดชมหน้าเว็บที่แตกต่างกัน รวมถึงการกำหนดขนาดหน้าจอ ความเร็วอินเตอร์เน็ต และการตั้งค่าที่แตกต่างกัน การที่จะให้เว็บของเราแสดงผลได้ดีในลักษณะที่แตกต่างกันนี้จึงค่อนข้างยาก ดังนั้นการออกแบบเว็บไซต์จึงต้องคำนึงถึงดังต่อไปนี้
1.   เนื้อหาเว็บคือสิ่งสำคัญที่สุด ( Content is King ) การที่เว็บของคุณจะมีผู้เข้าชมมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหาของเว็บคุณ ว่ามีเนื้อหา สาระ น่าสนใจมากแค่ไหน แม้ว่าคุณจะออกแบบหน้าเว็บให้สวยงามมากแค่ไหน หากเนื้อหาในเว็บของคุณไม่น่าสนใจ หรือดึงดูดให้ผู้เยี่ยมชมอยากกลับมาเข้าชมเว็บคุณอีก ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะจุดประสงค์หลักของเว็บไซต์คือการให้ข้อมูลกับผู้เยี่ยมชม การที่จะมีผู้เยี่ยมชมเว็บคุณมากแค่ไหนจึงขึ้นอยู่กับข้อมูลของคุณเองว่าน่า สนใจตรงตามความต้องการของผู้เยี่ยมชมมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ควรตรวจสอบข้อมูลให้มีความถูกต้องทันสมัยอยู่เสมอ ควรมีการกรั่นกรองเนื้อหาของเว็บด้วย อาจจะยึดหลักว่ามีเนื้อหาน้อยแต่เป็นเนื้อหาที่ถูกต้องสมบูรณ์ดีกว่ามีเนื้อหามากแต่เป็นเนื้อหาที่ล้าสมัยหรือไม่มีประโยชน์
2.   การออกแบบจัดวางเนื้อหา และส่วนประกอบต่าง ๆ ควรคำนึงถึงความเป็นระเบียบ สะดวกในการใช้งาน เนื่องจากเมื่อเว็บมีข้อมูลมากขึ้นหากจัดวางข้อมูลไม่เป็นระเบียบจะทำให้เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ยาก
3.   ความเป็นมาตรฐานของโค้ดคำสั่ง เราต้องใช้โค้ดคำสั่งที่เป็นมาตรฐานที่โปรแกรมสำหรับเปิดเว็บทุกตัวต้องเข้าใจ ไม่ใช่ว่าใช้โค้ดที่เข้าใจเฉพาะโปรแกรมตัวใดตัวหนึ่ง ผู้ที่ใช้โปรแกรมเปิดเว็บตัวอื่นก็จะไม่สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง
4.   ขนาดพื้นที่หน้าจอที่เหมาะสม เราต้องกำหนดขนาดพื้นที่หน้าจอที่สามารถเปิดชมในขนาดหน้าจอที่แตกต่างกันได้ โดยไม่ผิดเพี้ยนไปมากนัก เราควรทดสอบในขนาดพื้นที่หน้าจอหลาย ๆ ขนาด
5.   ขนาดข้อมูลของแต่ละหน้าไม่ควรมากเกินไป แต่ละหน้าเว็บไม่ควรใส่ข้อมูลเข้าไปเยอะเกินความจำเป็นเพราะจะทำให้เปิดหน้าเว็บได้ช้า ขนาดรูปภาพควรจะให้เล็กที่สุดที่เราสามารถมองได้ชัด และแสดงรายละเอียดได้ครบถ้วน
6.   การจัดวางข้อมูลในแต่ละหน้าไม่ควรมีหลายส่วนเกินไป ในหน้าเว็บไม่ควรจะสร้างหลายคอลัมน์เกินไป และไม่ควรที่จะใส่อะไรย่อย ๆ ไปมากหลาย ๆ จุด เพราะจะทำให้ดึงความสนใจจากผู้ใช้ไปจากข้อมูลหลักที่เราต้องการแสดง ลองนึกถึงเว็บที่มีหลายคอลัมน์ แต่ละคอลัมน์ก็จะมีกรอบย่อย ๆ เรียงรายลงมา เมื่อเราเข้าไปแล้วจะเกิดความสับสนไม่รู้ว่าจะอ่านตรงไหนก่อนดี จนบางครั้งขี้เกียจดูปิดเว็บนั้นไปเลยก็มี โดยทั่วไปแล้วหน้าเว็บไม่ควรจะมีเกิน 3 คอลัมน์ ส่วนของข้อมูลหลักที่ต้องการแสดงต้องกำหนดให้มีขนาดใหญ่ที่สุด ส่วนคอลัมน์อื่น ๆ ก็ไม่ควรมีกล่องย่อยมากเกินไป
7.   ข้อมูลที่มีการเพิ่มใหม่ หรือปรับปรุงใหม่ ควรจะแสดงเป็นส่วนหนึ่งของหน้าแรก แต่ไม่ควรแสดงทั้งหมด ต้องกำหนดจำนวนที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้เข้าชมเห็นการเปลี่ยนแปลงได้สะดวกว่ามีอะไรเพิ่มเติม หรือปรับปรุงใหม่บ้าง
8.   ไม่ควรใส่ Script คำสั่งเพื่อใส่ลูกเล่นให้กับเว็บมากเกินไป Script สำหรับตกแต่งหน้าเว็บอาจจะทำให้เว็บดูสวย ดูดีขึ้น แต่ก็ทำให้เปิดเว็บได้ช้าลง เครื่องทำงานหนักขึ้น ผู้เข้าชมอาจจะชอบในตอนแรกแต่พอเจอทุกทีที่เข้าเว็บแล้วทำให้เครื่องอืดก็อาจจะเบื่อหน้าเว็บนั้นได้เหมือนกัน ส่วนใหญ่ที่เจอเว็บลักษณะนี้จะเป็นเว็บของผู้ที่เริ่มศึกษาการทำเว็บไซต์ เช่น นักเรียน นักศึกษา เนื่องจากความอยากรู้อยากเห็น อยากทดลองใช้คำสั่ง Script หรือลูกเล่นที่คิดว่าน่าสนใจ สุดท้ายเมื่อเขาเข้าใจการทำเว็บมากขึ้นก็จะไม่ค่อยเห็นความสำคัญของลูกเล่นมากนัก แล้วก็จะเข้าใจว่าเนื้อหาและการจัดการมีความสำคัญมากกว่า ควรออกแบบเว็บให้มีความเรียบง่าย เน้นในด้านเนื้อหา ความสามารถของระบบการจัดการเว็บ เพื่อความสะดวกของผู้เข้าชม และช่วยให้เราดูแลเว็บได้ง่ายขึ้น
9.   ควรเลือกสีที่มองดูแล้วสบายตา รวมถึงขนาดของตัวหนังสือต้องไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมสามารถอ่านเนื้อหาต่าง ๆ ได้อย่างสบายตา

................................................................................



5 สาเหตุที่คนไม่เข้าเว็บไซต์

1. ไม่รู้จักเว็บไซต์ของกิจการ
             คนทั่วไปอาจจะไม่เคยรู้จักหรือเคยได้ยินชื่อเว็บไซต์ของกิจการทำให้ลูกค้าไม่สามารถเข้ามาที่เว็บไซต์กิจการได้ เมื่อต้องการใช้บริการที่เป็นลักษณะเดียวกับเว็บไซต์ของกิจการ
            วิธีการแก้ไข : หาทางประชาสัมพันธ์เว็บไซต์กิจการให้คนอื่นๆ เป็นที่รู้จักมากขึ้น ให้พวกลูกค้าสามารถจำจดชื่อเว็บไซต์ของกิจการให้ได้ เช่น ทำการตลาดเสิรซเอินจิ้น, การตลาดผ่านอีเมล์, การลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ในเว็บและสื่ออื่นๆ


2. จำชื่อเว็บไซต์ของกิจการไม่ได้

            เป็นปัญหาที่เมื่อลูกค้าเข้ามาในเว็บไซต์กิจการ แต่ไม่สามารถจดจำชื่อเว็บไซต์กิจการได้ทำให้ลูกค้าต้องนึกหรือค้นหาเว็บไซต์กิจการอีกครั้งเมื่อต้องการเข้ามาอีกในครั้งต่อไปซึ่งสาเหตุอาจจะเป็นเพราะ ชื่อเว็บไซต์กิจการ พิมพ์ยากหรือสะกดยาก, เว็บไซต์กิจการไม่มีความโดดเด่นหรือแตกต่างจากเว็บไซต์ทั่วๆไป

          วิธีแก้ไข : ตั้งชื่อเว็บไซต์ที่จดจำได้ง่าย และพยายามสร้างความแตกต่างและน่าสนใจและข้อมูล
ในเว็บไซต์ของกิจการ


3. เว็บไซต์ไม่น่าสนใจ
           ลูกค้าอาจจะเคยเข้าเว็บไซต์กิจการแล้วพบเว็บไซต์กิจการไม่มีความน่าสนใจ หรือมีบริการหรือข้อมูลที่ไม่ตรงใจกับความต้องการของลูกค้า และบางครั้งอาจจะเกิดจากเว็บไซต์ของกิจการมีข้อมูลไม่มากเพียงพอที่จะทำให้ลูกค้าสนใจในเว็บและกลับมาบ่อยๆ
            วิธีการแก้ไข : จัดเตรียมและหาข้อมูลที่น่าสนใจมาใส่ไว้ในเว็บใว้จำนวนมากขึ้น เพื่อสร้างความน่าสนใจและดึงดูดให้ลูกค้ากลับมาอย่างต่อเนื่อง



4.เว็บไซต์ไม่อัพเดต

           ไม่เคยเปลี่ยนแปลงหรือมีการเพิ่มเติมข้อมูลลงไปในเว็บไซต์เลยตั้งแต่เปิดดำเนินการมา เมื่อมีลูกค้าเข้ามาในเว็บไซต์กิจการแล้ว และเมื่อกลับมาเข้าอีกครั้งหนึ่งลูกค้าก็ยังพบว่าข้อมูลเว็บไซต์กิจการไม่เปลี่ยนแปลงเลย ก็ทำให้ลูกค้าไม่อยากกลับมาอีก

           วิธีการแก้ไข: พยายามหาข้อมูลใหม่ๆ ใส่ลงไปในเว็บอย่างต่อเนื่อง, สำหรับบางกิจการมีปัญหาไม่สามารถอัพเดท หรือเพิ่มเติมข้อมูลลงไปในเว็บได้ เพราะต้องคอยพึ่งพาเว็บมาสเตอร์ หรือบริษัทรับจ้างทำเว็บ ซึ่งกิจการสามารถหันมาใช้เว็บไซต์สำเร็จรูป ที่กิจการสามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลในเว็บไซต์ได้เอง  หรืออาจจะนำเว็บบอร์ด มาติดตั้งในเว็บไซต์กิจการก็ได้ เพื่อให้คนทั่วไปสามารถมาพูดคุยหรือเพิ่มข้อมูลให้กับเว็บไซต์กิจการได้


5. เว็บไซต์คู่แข่งคุณดีกว่า น่าสนใจกว่า

           บางครั้งคนทั่วไปอาจจะรู้จักเว็บไซต์ของกิจการ แต่คนทั่วไปพบว่าเว็บไซต์ของคู่แข่งกิจการดูน่าสนใจกว่า และสามารถตอบสนองความต้องการได้มากกว่าเว็บไซต์กิจการ แค่นี้ลูกค้าก็จะไม่เข้าเว็บไซต์กิจการและหันไปเข้าเว็บไซต์ของคู่แข่งแทน

           วิธีแก้ไข : ศึกษาคู่แข่งว่ามีจุดเด่น หรือจุดไหนที่เหนือกว่าและน่าสนใจกว่าเว็บของกิจการและเป็นจุดที่ลูกค้าส่วนใหญ่สนใจ กิจการก็ปรับเว็บไซต์ให้มีลักษณะเดียวกันสิ่งสำคัญอยู่ที่ สิ่งที่กิจการสร้างให้แตกต่างขึ้นมานั้นต้องเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการด้วย (ลูกค้ากำลังเกิดปัญหาและรอให้มีคนมาแก้ปัญหาอยู่แล้วกิจการแก้ไขได้เร็วกว่า ดีกว่า ถูกกว่า ใช้ง่ายกว่า (Competitive Advantage) แล้วกิจการต้องมีการสื่อสาร (Communication) ประชาสัมพันธ์ถึงข้อที่ดีของเว๊บไซด์กิจการดแก่คนทั่วไปด้วย


...........................................................................................................................

การเลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์

การเลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์ 
- สีสันในเว็บเพจเป็นสิ่งสำคัญมากในการดึงดูดความสนในของผู้ใช้
- สามารถเลือกใช้สีได้กับทุกองค์ประกอบของเว็บเพจ
- ใช้สีพื้นหลังใกล้เคียงกับสีตัวอักษรนั้นบ้างครั้งอาจสร้างความลำบากในการอ่าน
- ใช้สีมากเกินความจำเป็นอาจสร้างความสับสนให้กับผู้อ่านได้
- การใช้สีกลมกลืนกันช่วยให้เว็บไซต์น่าดูน่าชมมากขึ้น


ประโยชน์ของสีในเว็บไซต์
- สามารถชักนำสายตาผู้อ่านให้ไปยังทุกบริเวณในหน้าเว็บเพจที่เราต้องการได้
- สีช่วยเชื่อมโยงบริเวณที่ได้รับการออกแบบเข้าด้วยกัน
- ใช้ในการดึงดูดความสนในของผู้อ่าน
- สร้างอารมณ์โดยรวมของเว็บเพจได้
- ช่วยสร้างความเป็นระเบียบให้กับข้อความต่าง ๆ ได้
- ส่งเสริมเอกลักษณ์ขององค์กรหรือหน่วยงานได้


สีกับอารมณ์ ความรู้สึก และความสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ
-สีแดง คือ ความมีพลัง อำนาจ ความรัก ความอบอุ่น
-สีน้ำเงิน คือ ความซื่อสัตย์ ความมั่นคง ความปลอดภัย
-สีเขียว คือธรรมชาติ ความอบอุ่น การเริ่มต้นใหม่
-สีเหลือง คือ ความสดใส่ ร่าเริง การมองโลกในแง่ดี
-สีน้ำตาล คือ ความสะดวกสบาย ความมั่นคง ความน่าเชื่อถือ
-สีขาว คือ ความบริสุทธิ์ ความไร้เรียงสา ความฉลาด
-สีดำ คือ อำนาจ ความฉลาด ความเป็นเลิศ
...........................................................................................................................